สร้างบ้านก่อนทำครัว VS. คิดครัวก่อนสร้างบ้าน


การติดตั้งอุปกรณ์เครื่องใช้บน Island จะต้องมีการวางแผนงานระบบมาเป็นอย่างดี

 สร้างบ้านก่อนทำครัว VS. คิดครัวก่อนสร้างบ้าน อันไหนดี?

 

 

หลายๆคนกำลังมีครัวในฝันอยู่ในใจ ไอเดียที่นำมาฝากกันนี้เป็นเรื่องของการวางแผนทำครัว

ว่าจะคิดเรื่องครัว ก่อนหรือหลังสร้างบ้านดี หากใครกำลังวางแผนจะสร้างบ้านอยู่ล่ะก็ จะได้

นำไปปรับใช้ได้เลย

 

สร้างบ้านก่อนทำครัว

สำหรับหลายๆคน เวลาออกแบบบ้าน สถาปนิกก็จะวางตำแหน่งครัวมาให้คร่าวๆแล้ว แล้ว

บางคนก้จะให้ผู้รับเหมาทำตามแบบจากสถาปนิกไปเลย และบางคนก็จะนำแบบนั้นไป

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านครัวอีกที เพื่อสั่งทำครัวตามที่ต้องการ  มีหลายๆครั้งที่เมื่อเราไป

เยี่ยมชมตาม Kitchen studio แล้ว เราเห็นครัวแบบใหม่ แล้วก็เปลี่ยนใจบ้าง อยากได้เพิ่ม

บ้าง แล้วก็มีหลายๆครั้ง ที่เราไม่สามารถได้อย่างที่ใจต้องการ เพราะว่างานระบบไม่รองรับ

หรือบางคนก็ต้องให้ช่างเข้ามาแก้ไขงานระบบในบ้านอีก แต่การทำแบบนี้ ก็มีข้อดีอยู่ที่ว่า

งานจะเดินค่อนข้างไว เพราะบ้านเราเป็นรูปเป็นร่างแล้ว

 

สรุปข้อดี-ข้อเสีย

ข้อดี

เห็นภาพรวมของบ้านแล้ว

งานเดินหน้าเร็ว เพราะบ้านเสร็จแล้ว

 

ข้อเสีย

แก้ไขงานระบบยาก อาจจะไม่ได้ทุกอย่างตามใจต้องการ


 

คิดครัวก่อน / ระหว่างสร้างบ้าน

ลักษณะนี้เป็นที่นิยม โดยเฉพาะสำหรับชาวต่างชาติ เพราะห้องครัวนั้น ถือว่าเป็นส่วน

สำคัญในบ้าน เป็นที่ที่ให้สมาชิกในครอบครัวได้มาพบปะสังสรรค์ และทำกิจกรรมร่วมกัน

ชาวต่างชาติจึงนิยมวางแผนครัวเป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถวางตำแหน่งอุปกรณ์เครื่อง

ใช้ในครัว ได้ตามใจต้องการ เนื่องจากการวางตำแหน่งของอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวนั้นจะ

ต้องสัมพันธ์กับงานระบบของตัวบ้าน ซึ่งได้แก่

 

1.งานไฟฟ้า - รู้ไหมว่า งานไฟฟ้ามีความสำคัญยิ่ง สำหรับห้องครัว เพราะอุปกรณ์

เครื่องใช้ในครัวนั้น มีอัตราการใช้ไฟฟ้าที่ไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้น ตำแหน่งของปลั๊กไฟ

สวิตช์ และขนาดของสายไฟ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่จะต้องวางแผนพร้อมไปกับการ

ออกแบบครัว เพื่อให้ช่างที่กำลังทำบ้านของคุณวางแผนการเดินไฟฟ้า และขนาดของ

สายไฟที่ถูกต้องได้  อย่างเตาอินดักชั่นบางรุ่น จะสามารถทำงานออกมาได้เต็ม

ประสิทธิภาพถ้าสายไฟของเรารองรับกระแส 7500 วัตต์ แต่ถ้าไม่ได้วางแผนมาก่อน

สายไฟเราอาจรองรับกระแสได้แค่ 5000 วัตต์ และถ้าเราอยากได้เตาอบไว้ใกล้เตาไฟฟ้าด้วย

แล้วก็ เราก็จะไม่สามารถใช้อุปกรณ์ 2 ชิ้นนี้ไปพร้อมๆกันได้ ต้องใช้ทีละชิ้นแล้วก็ยัง

ทำงานไม่ได้เต็มที่อีก ดังนั้นการวางแผนระบบไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับห้องครัว

 
เตาไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กระแสไฟฟ้าสูง
 

2.งานประปา - สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย คืองานประปา อุปกรณ์ที่มีผล

โดยตรงกับงานประปา ก็ได้แก่ ซิงค์ เครื่องล้างจาน เครื่องซักผ้า และตู้เย็นบางรุ่นที่มี

ระบบกรองน้ำในตัว และจ่ายน้ำดื่มได้เลย  ตำแหน่งของซิงค์นั้น จำเป็นที่จะต้องอยู่ตรง

กับตำแหน่งของท่อประปา หากใครอยากได้ซิงค์ที่อยู่ตรงกลางไอแลนด์ ที่ดูทั้งเก๋ และ

ทันสมัย ก็จำเป็นต้องเดินท่อประปาให้ออกมาที่พื้นกลางห้องด้วย ส่วนอุปกรณ์อย่างอื่น

เครื่องล้างจานสามารถใช้ท่อน้ำดีและท่อน้ำทิ้งร่วมกับซิงค์ได้ ส่วนเครื่องซักผ้าจะต้อง

ใช้ท่อน้ำทิ้งแยกจากซิงค์ ด้วยเหตุผลคือจะมีฟองที่เกิดจากการซักผ้า

 
เครื่องดูดควันแบบ Downdraft
 
 

3.งานท่ออากาศ - งานระบบนี้ อาจไม่เป็นที่คำนึงมากนัก เพราะส่วนใหญ่ เรามักติด

เครื่องดูดควันกับผนังบ้าน ที่สามารถเจาะผนังระบายควันออกไปได้เลย  แต่สำหรับใคร

ที่ชอบความเก๋ เท่ห์ ไม่เหมือนใคร ของเครื่องดูดควันที่อยู่กลางไอแลนด์ อย่างระบบ

ดูดควันบนเพดาน หรือแบบ Downdraft ที่ดูดควันลงพื้น  เราจำเป็นที่จำต้องมีการเดิน

ท่ออากาศเผื่อไว้ด้วย มิฉะนั้น จะต้องใช้ระบบการดูดควันแบบหมุนเวียนในห้องแทน

ซึ่งจะกรองละอองน้ำมัน และลดกลิ่นจากการทำอาหารด้วย Carbon filter และปล่อย

อากาศกลับเข้าไปในห้อง ไม้ได้ดูดออกไปข้างนอกแต่อย่างใด 

 

 สรุปข้อดี-ข้อเสีย

ข้อดี

วางครัวในตำแหน่งที่เหมาะสมกับบ้านได้

ออกแบบ และจัดวางงานระบบให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่จะใช้ได้

 

ข้อเสีย

ยังไม่เห็นภาพรวมของบ้าน อาจจะทำให้คิดไม่ออก

 

บทความ สาระดีๆเกี่ยวกับบ้านและห้องครัว

Visitors: 86,479